วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ






ประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็นกี่ระยะ
ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
เริ่มตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างรวดเร็วฉับ พลันมากกว่ายุคสมัยในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากอิทธิพลของความเจริญทางเทคโนโลยี อารยธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่ างรวดเร็วและมากมาย การติดต่อกับนานาประเทศทั่วโลกเป็นไปอย่างกว้างขวางมีการสื่อสารที่ฉับพลัน ล้วนมีส่วนอย่างมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและการสร้างงานประติมากรรม กล่าวโดยสรุปประติมากรรม กล่าวโดยสรุปประติมากรรมไทยสมัยรั ตนโกสินทร์แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ประติมากรรมแบบดั้งเดิม ประติมากรรมระยะปรับตัว และประติมากรรมร่วมสมัย
ประติมากรรมแบบดั้งเดิม อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 การสร้างประติมากรรมที่ทำกันมาแต่อดีตของไทย
ประติมากรรมระยะปรับตัว สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นยุคสมัยของการปรับตัวเปิดประเทศยอมรับอิทธิพลตะวันตก ยอม รับความคิดใหม่มาเปลี่ยนแปลงสังคม ระเบียบประเพณีเพื่อประคองให้ประเทศรอดพ้นจากภัยสงครามหรือจากลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ่งหลายประเ ทศในซีกโลกเอเชีย ยุคนั้นประสบอยู่ การสร้างงานศิลปกรรมทุกสาขารวมทั้งประติมากรรมก็ถูกกระแสการเมืองนี้ด้วย
ประติมากรรมร่วมสมัย อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน เป็นศิลปะที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเจริญแบบตะวัน ตก ที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ ในการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อสาธารณะประโยชน์ นอกเหนือจากการสร้างเพื่อศาสนาอย่างเด ียว
พระพุทธเสฏฐมุนี พระประธานในศาลาการเปรียญวัดสุทัศน์เทพวราราม พระพุทธรูปปางมารวิชัย รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นด้วยกลักฝิ่น
ยักษ์บนฐานปลายพลสิงห์เหนือบันไดทางขึ้นพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หล่อด้วยโหละปิดทอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปกะไหล่ทองปางสมาธิประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีด้านหน้าบุษบกพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา พระประธานพระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ พระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ศิลปะสมัยรรัตนโกสินทร์
"มนุษย์กับความปราถนา" ประติมากรรมร่วมสมัยหรือสมัยใหม่ ปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ เข็มรัตน์ กองสุข เป็นผู้ปั้น
http://kanchanapisek.or.th/cgi-bin/show2.cgi/kp6/BOOK14/pictures/s14-113-2

ไม่มีความคิดเห็น: