วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550




ประติมากรรมไทยเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษโดยประติมากรของไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรับใช้สังคม ตอบสนองความเชื่อสร้างความภูมิใจ ความพึงพอใจ และค่านิยมแห่งชาติภูมิของไทย ประติมากรรมไทยส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาทางศาสนา มักปรากฏอยู่ตามวัดแล ะวังมีขนาดตั้งแต่เล็กที่สุด เช่น พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง จนถึงขนาดใหญ่ที่สุด เช่น พระอัจนะหรือพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่กลางแปลงมีทั้ง
ประติมากรรมตกแต่ง ซึ่งตกแต่ง ศิลปวัตถุ ศิลปสถาน เพื่อเสริมคุณค่าแก่ศิลปวัตถุหรือสถานที่
นั้น จนถึงป ระติม ากรรมบริสุทธิ์ซึ่งเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่าและคุณสมบัติเฉพาะ
สมบูรณ์ด้วยตัวของประติมากรรมเอง


เมื่อพิจารณาภาพรวมของ ประติมากรรมไทยอาจแบ่งประติมากรรมออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ประติมากรรมรูปเคารพ
2. ประติมากรรมตกแต่ง และ
3. ประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย

ประติมากรรม



ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปกรรมที่เป็นรูปทรง 3 มิติ ประกอบจากความสูง ความกว้างและความนูน หรือความลึก รูปทรงนี้มีปริมาตรที่ จับต้องได้ และกินระวางเนื้อที่ในอากาศ ต่างจากรูปทรงปริมาตรทางจิตรกรรมที่แสดงบนพื้นเรียบเป็นปริมาตรที่ลวงตา ประติมาก รรมเกิดขึ้นจากกรรมวิธีการสร้างสรรค์แบบต่าง ๆ เช่น การปั้นและหล่อ การแกะสลัก การฉลุหรือดุน ประติมากรรมทั่วไปมี 3 แบบคือ ปร ะติมากรรมแบบลอยตัวสามารถดูได้โดยรอบ ประติมากรรมนูน มีพื้นรองรับสามารถดูได้เฉพาะด้านหน้าและด้านเฉียงเท่านั้น แ ละประติมากรรมแบบเจาะ ลึกลงไปในพื้น

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ






ประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็นกี่ระยะ
ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
เริ่มตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างรวดเร็วฉับ พลันมากกว่ายุคสมัยในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากอิทธิพลของความเจริญทางเทคโนโลยี อารยธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่ างรวดเร็วและมากมาย การติดต่อกับนานาประเทศทั่วโลกเป็นไปอย่างกว้างขวางมีการสื่อสารที่ฉับพลัน ล้วนมีส่วนอย่างมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและการสร้างงานประติมากรรม กล่าวโดยสรุปประติมากรรม กล่าวโดยสรุปประติมากรรมไทยสมัยรั ตนโกสินทร์แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ประติมากรรมแบบดั้งเดิม ประติมากรรมระยะปรับตัว และประติมากรรมร่วมสมัย
ประติมากรรมแบบดั้งเดิม อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 การสร้างประติมากรรมที่ทำกันมาแต่อดีตของไทย
ประติมากรรมระยะปรับตัว สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นยุคสมัยของการปรับตัวเปิดประเทศยอมรับอิทธิพลตะวันตก ยอม รับความคิดใหม่มาเปลี่ยนแปลงสังคม ระเบียบประเพณีเพื่อประคองให้ประเทศรอดพ้นจากภัยสงครามหรือจากลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ่งหลายประเ ทศในซีกโลกเอเชีย ยุคนั้นประสบอยู่ การสร้างงานศิลปกรรมทุกสาขารวมทั้งประติมากรรมก็ถูกกระแสการเมืองนี้ด้วย
ประติมากรรมร่วมสมัย อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน เป็นศิลปะที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเจริญแบบตะวัน ตก ที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ ในการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อสาธารณะประโยชน์ นอกเหนือจากการสร้างเพื่อศาสนาอย่างเด ียว
พระพุทธเสฏฐมุนี พระประธานในศาลาการเปรียญวัดสุทัศน์เทพวราราม พระพุทธรูปปางมารวิชัย รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นด้วยกลักฝิ่น
ยักษ์บนฐานปลายพลสิงห์เหนือบันไดทางขึ้นพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หล่อด้วยโหละปิดทอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปกะไหล่ทองปางสมาธิประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีด้านหน้าบุษบกพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา พระประธานพระอุโบสถ วัดเฉลิมพระเกียรติ พระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ศิลปะสมัยรรัตนโกสินทร์
"มนุษย์กับความปราถนา" ประติมากรรมร่วมสมัยหรือสมัยใหม่ ปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ เข็มรัตน์ กองสุข เป็นผู้ปั้น
http://kanchanapisek.or.th/cgi-bin/show2.cgi/kp6/BOOK14/pictures/s14-113-2

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สวยอย่างสุขภาพดีที่ MK


สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์คืออะไร ?
สุนทรียศาสตร์คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงามจากสิ่งรอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความงามให้รับรู้ในรูปแบบต่างๆเช่นการวาดภาพ ดนตรี ศิลปกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีความงามหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่างามหรือไม่โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีมาและการถ่ายทอดปลูกฝังตั้งแต่เด็กเป็นประสบการณ์
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร ?
สุนทรียศาสตร์ ตามความเห็นคิดเห็นคือ สามารถช่วยในเรื่องของกระบวนการคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล ทำให้ผู้นั้นมีจิตใจอ่อนโยน และมองโลกในแง่ดี ไม่แข็งจนเกินไป นอกจากนั้น การเข้าใจในสุนทรีย์ศาสตร์ยังช่วยส่งเสริมให้มนุษย์ได้มีแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามต่างๆกันไป และทำให้เห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ ตลอดจนรู้จักนำสุนทรียศาสตร์ไปใช้ในชีวิตด้วยเหตุผล และความรู้สึกต่างๆได้อย่างเหมาะสม
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร ?
เผู้ที่อยู่ในวิชาชีพพยาบาลทุกคนจะได้รับการสอนเสมอว่า วิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานกับบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะเจ็บป่วยโดยต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล นั่นหมายถึง ผู้ป่วยเป็นบุคคลซึ่งมีจิตใจ มีความรู้สึก กลัวการเจ็บป่วย กลัวการตาย การให้การพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพก่อน จากนั้นต้องมีความตั้งใจในการให้การพยาบาล เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจผู้ป่วย ในการให้การพยาบาลควรปฏิบัติด้วยความนุ่มนวลพร้อมกับให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ มีเหตุและผล ร่วมกับใช้ความรู้และศาสตร์ ซึ่งหมายถึงวิชาต่างๆที่ได้เรียนมานำมาใช้ให้สอดคล้องกับการพยาบาลต่อผู่ป่วยในแต่ละคน....ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน พยาบาลทุกท่านต้องทำความเข้าใจและให้การพยาบาลแตกต่างกันออกไป การปฏิบัติงาน และการให้การพยาบาลต่อผู้ป่วยเหล่านั้น สุดท้ายจะส่งผลกลับมาด้วยความภาคภูมิใจ และทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิชาชีพมากขึ้นทุกวัน ทุกวัน...ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า การให้การพยาบาลและการปฏิบัติงานในวิชาชีพพยาบาล