วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550




ประติมากรรมไทยเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษโดยประติมากรของไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรับใช้สังคม ตอบสนองความเชื่อสร้างความภูมิใจ ความพึงพอใจ และค่านิยมแห่งชาติภูมิของไทย ประติมากรรมไทยส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาทางศาสนา มักปรากฏอยู่ตามวัดแล ะวังมีขนาดตั้งแต่เล็กที่สุด เช่น พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง จนถึงขนาดใหญ่ที่สุด เช่น พระอัจนะหรือพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่กลางแปลงมีทั้ง
ประติมากรรมตกแต่ง ซึ่งตกแต่ง ศิลปวัตถุ ศิลปสถาน เพื่อเสริมคุณค่าแก่ศิลปวัตถุหรือสถานที่
นั้น จนถึงป ระติม ากรรมบริสุทธิ์ซึ่งเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่าและคุณสมบัติเฉพาะ
สมบูรณ์ด้วยตัวของประติมากรรมเอง


เมื่อพิจารณาภาพรวมของ ประติมากรรมไทยอาจแบ่งประติมากรรมออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ประติมากรรมรูปเคารพ
2. ประติมากรรมตกแต่ง และ
3. ประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย

ประติมากรรม



ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปกรรมที่เป็นรูปทรง 3 มิติ ประกอบจากความสูง ความกว้างและความนูน หรือความลึก รูปทรงนี้มีปริมาตรที่ จับต้องได้ และกินระวางเนื้อที่ในอากาศ ต่างจากรูปทรงปริมาตรทางจิตรกรรมที่แสดงบนพื้นเรียบเป็นปริมาตรที่ลวงตา ประติมาก รรมเกิดขึ้นจากกรรมวิธีการสร้างสรรค์แบบต่าง ๆ เช่น การปั้นและหล่อ การแกะสลัก การฉลุหรือดุน ประติมากรรมทั่วไปมี 3 แบบคือ ปร ะติมากรรมแบบลอยตัวสามารถดูได้โดยรอบ ประติมากรรมนูน มีพื้นรองรับสามารถดูได้เฉพาะด้านหน้าและด้านเฉียงเท่านั้น แ ละประติมากรรมแบบเจาะ ลึกลงไปในพื้น